คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สอบปลายภาค

1.ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
- การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เน้นในเรื่องของการอ่านของเด็ก การฟัง และการเขียน รวมทั้งการจัดบรรยากาศทางภาษาภายในห้องเรียน ให้น่าอยุ่ และดึงดูดความสนใจให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
-เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ทางด้านภาษา ให้เด็กเกิดการเรียนรุ้ ในเรื่องของการอ่าน การฟัง การพูด และการเขียน และเด็กเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ตนได้ยิน และได้การฝึกคิดตาม และได้แสดงความคิดเห็นและความรุ้สึกต่างออกมาทางท่าทางได้
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
-จะต้องมีการวางแผนในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็ก คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และครูยังต้องมีความเข้าใจถึงความแตกต่างชองเด็กแต่ละวัย ครูและผู้ปกครองจึงต้องสร้างเสริมประสบการณ์ทางด้านภาษาให้กับเด็ก และควรหาหนังสือที่หลากหลายให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาให้ดียิ่งขึ้น
4.ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง
-แนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษาของผู้ปกครอง ควรใช้ภาษาที่ถูกต้องและควรส่งเสริมทักษะในการเรียนรุ้ของเด็ก โดยการหาหนังสือนิทานใหเด็กอ่านและผู้ปกครองก็พูดคุยกับเด็กอธิบายเกี่ยวกับศัพท์ยาก ๆ ให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในการใช้ภาษา
5.ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
*ชื่อกิจกรรม สนทนายามเช้า
*วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษาและการร่วมทำกิจกรรม
*กิจกรรม ถามเด็กเกี่ยวกับของเล่นที่เด็กชอบเล่นที่สุด และทำไมถึงชอบเล่นของเล่นชิ้นนี้ ใครเป็นคนซื้อให้และของเล่นชิ้นนี้ชื่ออะไร
*ประเมินผล สังเกตจากการทำกิจกรรม และสังเกตจากการตอบคำถามพบว่าเด็กยังใช้ภาษาที่ยังไม่ค่อยเป็นประโยค หรือเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจในคำถาม
และยังไม่ชินกับผู้ถาม มีอาการเขินอายเวลาตอบคำถาม และตอบกลับเพียงแค่พยักหน้าหรือประโยคสั้น ๆ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งสุดท้าย

2/03/2010



วันนี้เป็นการเรียนวิชานี้เป็นครั้งสุดท้าย

อาจารย์นัดสอบปลายภาคเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สรุปผลการสังเกตเด็ก

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางภาษา (ต่อ) และอาจารย์สรุปผล แนะนำสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมวิธีการวัดผลและประเมินผล
1.การสังเกต
2.การสนทนาซักถาม
3.ผลงานที่เด็กทำการฟัง ฟังแล้วเข้าใจ สามารถกระทำ ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ฟังมาได้การพูด พูดแล้วผู้ฟังเข้าใจ รู้เรื่อง มีคำศัพท์ บรรยายได้ตรงกับความเป็นจริงการอ่าน อ่านแล้วประมวล สามารถโต้ตอบได้การเขียน สามารถขีดเขี่ย ขีดเขียนได้ตามพัฒนาการการจัดสิ่งแวดล้อม
- จัดบรรยากาศให้อบอุ่นทางภาษา
- เด็กเรียนรู้ผ่านตัวอย่าง- เด็กเรียนรู้ ทำกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัย
- ให้เด็กมีความรับผิดชอบร่วมกัน
- ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความหมาย ลงมือปฏิบัติด้วยความกระตือรือร้น
- เปิดโอกาสให้เด็กได้สะท้อนความคิด สนทนาโต้ตอบ

รายงานผลการสังเกตเด็ก

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2553
- แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการสังเกตเด็ก จากการได้ไปจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ทางภาษา
- อาจารย์ได้มีการซักถาม และแนะนำการใช้คำถามกับเด็ก การเพิ่มเติมเนื้อหารายละเอียดในการนำเสนอ
- อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของรูปภาพของปริศนาคำทาย

ปริศนาคำทาย

ตรวจสอบงานปริศนาคำทาย และอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม
- การทำ Power Point
- การจัดรูปแบบตัวอักษร- สีพื้นหลัง
- การใส่รูปภาพอาจารย์ได้มีการตรวจสอบงานอย่างละเอียดเป็นรายบุคคล ได้มีการชี้แจงสิ่งที่ต้องแก้ไข และเพิ่มเติม อธิบายรูปแบบผลงานโดยรวมว่าต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง ซึ่งอาจารย์ได้มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัย ทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ ทุกคนตั้งใจรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่าน

อาจารย์สั่งงาน ให้การอ่าน

ความหมายของการอ่าน
การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน

ความสำคัญของการอ่าน ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย แสดงถึงความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตามผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง